วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทานมื้อดึกแบบไม่อ้วน มีสุขภาพดี


การรับประทาน “มื้อดึก” สำหรับสาวๆ แล้ว ดูเหมือนจะเป็นเรื่องอันตรายต่อรูปร่างและสุขภาพอย่างยิ่ง แต่บางครั้งบางคราวความจำเป็นบังคับ ความอยากเป็นสิ่งกดดัน ทำให้อาหารมื้อดึกกลายเป็น “นรก” ในความรู้สึกของบางคนแต่วันนี้เรามีวิธีการกินมื้อดึกแล้วอร่อยอย่างมีคุณภาพ ที่สำคัญไม่ทำลายสุขภาพมาบอกกล่าวกันค่ะ อันนี้เป็นคำแนะนำจาก ดร.ลุยจิ แกรตตัน รองประธานฝ่ายการแพทย์ เฮอร์บาไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด นั่นเองต้องทำอย่างไร? เราจึงจะยังคงรับประทานอาหารในยามค่ำคืนได้…โดยที่ไม่เสี่ยงต่อการมีสุขภาพที่แย่ลง…มาดูกันเลย
กฎข้อแรก…เลิกล้มความเชื่อเก่า ๆ
อาจจะเคยมีคนบอกว่าการรับประทานอาหารยามค่ำคืนหรือมื้อดึกเป็นโทษต่อร่างกาย แต่ในขณะที่ร่างกายต้องการแคลอรีที่น้อยที่สุดในเวลากลางคืน กลับไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ เป็นเครื่องยืนยันว่าปริมาณแคลอรีที่รับประทานในตอนกลางคืนจะถูกเก็บไว้มากกว่าที่เรารับประทานในเวลาอื่น
การรับประทานอาการในเวลาสายของวันแทนที่จะเป็นเวลาก่อนหน้านั้นไม่ได้หมายความว่าจะทำให้น้ำหนักตัวของเราเพิ่มขึ้น แต่ข้อสำคัญอยู่ที่ปริมาณแคลอรีที่เราได้รับตลอดวันต่างหาก ไม่ว่าจะรับประทานเวลาใดถ้ารับประทานมากกว่าที่ร่างกายต้องการ ร่างกายก็จะเก็บแคลอรีเหล่านั้นไว้และกลายเป็นไขมันพอกพูนตามส่วนต่างๆ ของร่างกายในที่สุด การควบคุมนิสัยในการชอบรับประทานของจุกจิกในช่วงเย็นจะทำให้การควบคุมน้ำหนักตัวทำได้ง่ายกว่า เนื่องจากเราได้รับแคลอรีที่น้อยลง เมื่อนำไปนับรวมกับแคลอรีทั้งหมดที่เราได้รับในระหว่างวัน
กฎข้อที่ 2…ปฏิวัตินิสัยช่างกิน
เรามักจะบริโภคอาหารที่ให้แคลอรีที่ร่างกายต้องการส่วนใหญ่ในตอนสายของวัน ชาวอเมริกันจะเลือกรับประทานอาหารเย็นที่มีแคลอรีสูงมากกว่ามื้ออื่นๆและถ้าหากเราเพิ่มจำนวนแคลอรีหลังจากเสร็จภารกิจกับอาหารเย็น ปริมาณแคลอรีก็จะเพิ่มขึ้นเกินความต้องการของร่างกายอย่างแน่นอน
มีเหตุผลหลายประการเกี่ยวกับรูปแบบการรับประทานที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ คนบางคนรับประทานอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในตอนกลางวัน ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดลดลง และทำให้หิวในตอนกลางคืน ซึ่งเป็นผลให้เราจะต้องรับประทานมากในตอนกลางคืนนั่นเองบางคนที่มักจะมีธุระยุ่งจนไม่มีเวลาที่จะคิดเรื่องการรับประทานอาหารแต่ละมื้อ ขณะที่บางคนก็ออกจากบ้นไปทำงานโดยดื่มกาแฟเพียงถ้วยเดียว และก้มหน้าก้มตาทำงานตลอดทั้งวันโดยไม่หาเวลารับประทานอาหารให้เหมาะสมจึงไม่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่เมื่อพวกเขาเหล่านั้นกลับถึงบ้าน เขาก็แทบจะหมดเรี่ยวแรงที่จะทำอะไรต่อ
คนอื่นๆ อาจจะรับประทานตามอารมณ์ เช่น รับประทานเพื่อแก้เครียด หรือแก้เบื่อ และบางครั้งเราก็มักจะเอื้อมมือไปหยิบอาหารขยะโดยไม่ทันคิด ในขณะที่ต้องนั่งอยู่กับที่ เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังเพลง หรือใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงบ่อยครั้งที่มักจะรับประทานอาหารที่มีแคลอรีสูงเหล่านี้เวลาหย่อนใจ และปฏิบัติจนเป็นนิสัยโดยไม่รู้ตัว!
กฎข้อที่ 3…วางแผนการรับประทานและอาหารว่างที่เหมาะสม
การเพิ่มพลังงานที่ถูกต้องในระยะเวลาห่างกันอย่างเหมาะสมในช่วงกลางวันเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งเพื่อลดการรับประทานจุกจิกในตอนกลางคืน อาหารเช้าและอาหารกลางวันควรจะมีปริมาณของโปรตีนที่พอเหมาะและสอดคล้องกับความต้องของร่างกายเพื่อให้สมองของเราว่องไว ตื่นตัวและไม่หิว รวมทั้งรับประทานอาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพ เมื่อรู้สึกว่าอยากรับประทานทาน อะไรสักอย่างเช่น ผลไม้ ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี เพื่อรักษาระดับของน้ำตาลในเลือด โปรตีนเชคและผลไม้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเริ่มต้นวันที่ดี หรือไม่อย่างนั้นก็ลองรับประทานออมเล็ตไข่ขาวกับผลไม้ โยเกิร์ตชนิดไม่มีไขมันกับผลไม้ หรือรับประทานข้าวโอ๊ตผสมด้วยผงโปรตีน เหล่านี้นับเป็นอาหารว่างที่มีรสชาติไม่เลว โดยไม่ต้องกังวลกับแคลอรีที่จะตามมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น