วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เงาะโรงเรียน ทำไมไม่เป็นเงาะอาชีวะหรือเงาะมหาวิทยาลัย
ก็เพราะเงาะพันธ์นี้ไม่ได้ปลูกในวิทยาลัยอาชีวะหรือในมหาวิทยาลัย
เงาะโรงเรียนหรือเงาะพันธุ์โรงเรียน เป็นเงาะพันธุ์ที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน เงาะในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ตลอดทั้งเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ก็ไม่มีประเทศใดที่มีเงาะคุณภาพดีเท่ากับเงาะพันธุ์โรงเรียน แม้แต่ในมาเลเซียซึ่งเราได้เมล็ดเงาะพันธุ์นี้มา จึงกล่าวได้ว่าเงาะพันธุ์โรงเรียนเป็นเงาะพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลกเท่าที่มีอยู่ในขณะ
คำว่า "โรงเรียน" หมายถึง โรงเรียนนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานีเงาะต้นแม่พันธุ์มีเพียงต้นเดียว ปลูกด้วยเมล็ดเมื่อปี พ.ศ.2469 โดยชาวจีนผู้หนึ่งมีสัญชาติมาเลเซีย ชื่อ Mr. K. Wong มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่เมืองปีนัง บุคคลผู้นี้ได้เข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกที่หมู่บ้านเหมืองแกะ ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร ตรงกันข้ามกับโรงเรียนนาสาร เมื่อ Mr. K. Wong มาทำเหมืองแร่ก็ซื้อที่ดินริมทางรถไฟด้านทิศตะวันตก ใกล้กับสถานีรถไฟนาสารเป็นเนื้อที่ 18 ไร่ แล้วสร้างบ้านพักบนที่ดินดังกล่าว เมื่อสร้างบ้านเสร็จ Mr. K. Wong ก็นำพันธุ์(เมล็ด)เงาะมาจากเมืองปีนัง(ขณะนี้เงาะพันธุ์นี้ที่เมืองปีนึงไม่มีแล้ว) มาปลูกข้างบ้านพักจำนวน 4 ต้น ต่อมาปรากฏว่าเงาะมีลูกเป็นสีเหลืองบ้าง แดงบ้าง รสเปรี้ยวบ้าง หวานบ้าง เฉพาะต้นที่ 2 นับจากทิศตะวันออกมีลักษณะพิเศษกว่าต้นอื่น คือ เนื้อสุกแล้วเปลือกผลเป็นสีแดง แต่แม้สุกจัดเท่าไหร่ก็ตาม ขนที่ผลยังมีสีเขียวอยู่ รูปผลค่อนข้างกลม เนื้อกรอบ หวาน หอม เปลือกบาง เงาะต้นนี้คือ "เงาะพันธุ์
สาเหตุที่เรียกว่าเงาะพันธุ์โรงเรียน เพราะในปี พ.ศ.2479 Mr. K. Wong ต้องเลิกล้มกิจการเหมืองแร่และเดินทางกลับไปอยู่ที่เมืองปีนังภูมิลำเนาเดิม จึงขายที่ดินดังกล่าวพร้อมด้วยบ้านพักให้แก่กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) แผนกธรรมการ อำเภอบ้านนา (อำเภอบ้านนาสาร) ทางราชการจึงปรับปรุงบ้านพักใช้เป็นอาคารเรียน และย้ายโรงเรียนนาสารซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่วัดนาสารมาอยู่อาคารดังกล่าว เมื่อวันที่ 17 พฤศจิการยน พ.ศ.2479 แต่เงาะพันธุ์โรงเรียนในขณะนั้นยังมิได้แพร่หลายแต่ประการใด เนื่องจากการส่งเสริมทางการเกษตรยังไม่ดีพอ ในปี พ.ศ.2489-2498 มีบุคคลตอนกิ่งไปขายพันธุ์เพียง 3-4 ราย

ครั้นถึงปี พ.ศ.2500-2501 ได้มีกรรมวิธีแพร่พันธุ์เกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คือการทาบกิ่ง มีการทาบกิ่งเงาะต้นนี้ไปเป็นจำนวนมาก ในระยะเดียวกันนั้น เงาะที่มาจากจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส คือเงาะพันธุ์ยาวี เจ๊ะโมง เปเราะ ก็เข้ามาแพร่หลายพอสมควร ประชาชนเห็นว่าเงาะต้นนี้ยังไม่มีชื่อ จึงชักชวนกันเรียกเงาะต้นนี้ว่า "เงาะพันธุ์โรงเรียน" เพราะต้นแม่พันธุ์อยู่ที่โรงเรียนนา
ปี พ.ศ.2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯมาที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้นำชาวสวนเงาะผู้หนึ่งได้ทูลเกล้าฯถวายเงาะพันธุ์โรงเรียน และขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานชื่อพันธุ์เงาะนี้เสียใหม่ พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ชื่อเงาะพันธุ์โรงเรียนดีอยู่แล้ว" นับแต่นั้นมา ไม่มีใครกล้าที่จะเปลี่ยนชื่อเงาะพันธุ์นี้อีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น