วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

"สมุนไพรไทย"

ทองพันชั่ง
สรรพคุณ :
ราก - แก้กลากเกลื้อน รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง ดับพิษไข้ แก้พิษงู แก้พยาธิวงแหวนตาผิวหนัง
ทั้งต้น - รักษาโรคผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน รักษามะเร็ง คุดทะราด ขับพยาธิตามผิวหนัง ตามบาดแผล แก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม แก้ปัสสาวะผิดปกติ
ต้น - บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ รักษาโรคผมร่วง
ใบ - ดับพิษไข้ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน แก้โรคไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้ผมร่วง บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ แก้ปวดฝี แก้พิษงู ถอนพิษ แก้อักเสบ แก้โรคมุตกิต รักษาโรคพยาธิวงแหวนตามผิวหนังนอกจากนี้ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคต่อไปนี้คือ
ราก - รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด กระเพาะลำไส้ มะเร็งตามร่างกาย ทำให้ผมดกดำ แก้ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร ดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง แก้กระษัย แก้ผมหงอก ผมร่วง รักษาโรคตับพิการ รักษาโรครูมาติซึม รักษาโรคไขข้อพิการ แก้ลมเข้าข้อทำให้ปวดบวมต่างๆ ขับปัสสาวะ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค
ทั้งต้น - รักษาโรคผิวหนัง คุดทะราด แก้เม็ดผื่นคัน
ต้น - รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะ มะเร็งตามร่างกาย มะเร็งลำไส้ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง
ใบ - แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้ แก้ปวดหัวตัวร้อน แก้มะเร็งไช แก้หิดมะตอย รักษาโรคมะเร็ง รักษาวัณโรค แก้ใจระส่ำระสาย แก้คลุ้มคลั่ง แก้สารพัดพิษนอกจากนี้ในตำราบางเล่ม ยังได้กล่าวถึงสรรพคุณทองพันชั่ง โดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใดของพืช หรือส่วนใดในตำรายาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ- รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคมะเร็ง แก้มุตกิตระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ผมร่วง รักษาโรคนิ่ว - แก้เคล็ดขัดยอกชายโครง มือเคล็ด คอเคล็ด แก้มะเร็งในกระเพาะ แก้ฝีประคำร้อย แก้มะเร็งในคอ แก้มะเร็งในปาก แก้ไข้เหนือ แก้จุกเสียด เป็นยาหยอดตา แก้ไอเป็นเลือด แก้ช้ำใน แก้นิ่ว แก้โรคผิวหนัง แก้ลมสาร แก้มะเร็งในปอด แก้มะเร็งภายในและภายนอก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้รับประทานเป็นยาภายใน รักษาโรคมะเร็ง และวัณโรคระยะเริ่มแรก1. ใช้ทั้งต้น สด จำนวน 30 กรัม ต้มกับน้ำ จำนวนท่วมใบยา ต้มดื่มต่างน้ำ2. ใช้ก้านและใบสด 30 กรัม (แห้ง 10-15 กรัม) ผสมน้ำตาลกรวดต้มน้ำดื่ม รักษาโรคปอดระยะเริ่มแรก
ใช้เป็นยาภายนอก แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อนและผื่นคันอื่นๆ1. ใช้ใบสด 5-8 ใบ หรือ รากสด 2-3 รากใบสดตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน หรือเอารากมาป่น แช่เหล้าไว้ 1 สัปดาห์ กรองเอาน้ำยาที่แช่มาทา ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย2. ใช้ใบสดตำผสมน้ำมันดิบ หรือ แอลกอฮอล์ 75% ทาบริเวณที่เป็น

กาหลง
สรรพคุณ :
ดอก - รับประทาน แก้ปวดศีรษะ- ลดความดันของโลหิตที่ขึ้นสูง- แก้เลือดออกตามไรฟัน- แก้เสมหะพิการ


มะเฟือง
สรรพคุณ :
ดอก - ขับพยาธิ
ใบ, ผล - ทำยาต้ม ทำให้หยุดอาเจียน
ผล- มี oxalic ทำให้เลือดจับเป็นก้อน- ระบาย- แก้เลือดออกตามไรฟัน- แก้บิด ขับน้ำลาย ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว- ลดอาการอักเสบ
ใบและราก - เป็นยาเย็น เป็นยาดับพิษร้อน แก้ไข้ ถอนพิษไข้


ประคำดีควาย

สรรพคุณ :
ผลแก่ - แก้ไข้ ดับพิษร้อนภายใน ดับพิษทุกอย่าง แก้ไข้แก้เลือด แก้หอบเนื่องจากปอดชื้น ปอดบวม แก้กาฬ แก้โรคผิวหนัง แก้พิษตานซาง แก้เสลดสุมฝีอันเปื่อยพัง แก้จุดกาฬ ผลผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคตัวร้อนนอนไม่หลับ นอนสะดุ้งผวา แก้สลบ แก้พิษ หัด สุกใส แก้ฝีเกลื่อน แก้ปากเปื่อย แก้สารพัดพิษ สรพัดกาฬ แก้ไข้จับเซื่องซึม แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สารพัดไข้ทั้งปวง
ใบ - แก้พิษกาฬ ดับพิษกาฬ
ราก - แก้ริดสีดวงมองคร่อ แก้หืด- รากผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้แก้ฝีในท้อง
ต้น - แก้ลมคลื่นเหียน
เปลือกต้น- แก้กระษัย แก้พิษร้อน แก้พิษไข้- เปลือกต้นผสมในตำรับยากับสมุนไพรอื่นใช้แก้ฝีหัวคว่ำ ฝีอักเสบ
ดอก - แก้พิษ เม็ดผื่นคัน
เมล็ด - แก้โรคผิวหนัง
วิธีใช้และปริมาณ :
ผลประคำดีควาย สุมให้เป็นถ่าน แล้วปรุงเป็นยารบประทาน ผลประคำดีควาย ใช้รักษาชันนะตุหัวเด็กได้ ผลต้มแล้วเกิดฟอง สุมหัวเด็กแก้หวัด แก้รังแค ใช้ซักผ้าและสระผมได้ โดยเอาผลประมาณ 5 ผล ทุบพอแตก ต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย ทาที่หนังศีรษะ ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย (ระวังอย่าให้เข้าตา จะทำให้แสบตา)

เปราะหอมขาว,เปราะหอมแดง
สรรพคุณ : เปราะหอมขาว
ดอก - แก้เด็กนอนสะดุ้งผวา ร้องไห้ตาเหลือก ตาช้อนดูหลังคา
ต้น - ขับเลือดเน่าของสตรี
ใบ - ใช้ปรุงเป็นผักรับประทานได้
หัว - แก้โลหิต ซึ่งเจือด้วยลมพิษ- ปรุงเป็นเครื่องเทศสำหรับแกง สุมศีรษะเด็ก แก้หวัด คัดจมูก รับประทานขับลมในลำไส้
สรรพคุณ : เปราะหอมแดง
ใบ - แก้เกลื้อนช้าง
ดอก - แก้โรคตา
ต้น - แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
หัว - ขับเลือด และหนองให้ตก แก้ลมพิษ แก้ผื่นคัน แก้ไอ แก้บาดแผล
หัวและใบ - ใช้ในการปรุงเป็นอาหารได้
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ทั้งเปราะหอมขาว และเปราะหอมแดง ใช้เปราะหอมสด 10-15 กรัม หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หัวสดใช้ 1/2-1 กำมือ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ดื่ม 1-2 ครั้ง
เปราะหอมขาวและแดง เป็นไม้ลงหัว จำพวกมหากาฬ ใบหนาแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน ม้วนๆ คล้ายๆ หูม้า หน้าใบเขียว เปราะหอมขาว ท้องใบมีสีขาว เปราะหอมแดง ท้องใบมีสีแดง ใบยาวราว 3-4 นิ้วฟุต ใบมีกลิ่นหอม ลงหัวกลมๆ เป็นไม้เจริญในฤดูฝนพอย่างเข้าฤดูหนาว ต้นและใบก็โทรมไป เปราะหอมทั้งสองรสเผ็ดขม แก้เสมหะ เจริญไฟธาตุ แก้ลมทิ้ง
แคขาว,แคแดง

สรรพคุณ :
เปลือก - ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว- แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ- ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล
ดอก,ใบ - รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม) ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้
ใบสด - รับประทานใบแคทำให้ระบาย- ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง
แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)- ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว- ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล

เจตมูลเพลิงแดง

สรรพคุณ : เป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ธาตุพิการ เป็นยาบำรุง เป็นยาขับประจำเดือน เป็นยาฆ่าเชื้อโรควิธีใช้
เป็นยาขมเจริญอาหารใช้รากแห้งผสมกับ ผลสมอพิเภก ดีปลี ขิง อย่างละเท่าๆ กัน บดเป็นผงรวมกัน รับประทานกับน้ำร้อน ครั้งละ 2.5 กรัม ประมาณ 1 ช้อนแกงข้อควรระวัง - สตรีที่ตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ยานี้
เป็นยาขับประจำเดือนใช้รากแห้ง 1-2 กรัม ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว


สะเดา
สรรพคุณ :
ดอก ยอดอ่อน - แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี
ขนอ่อน - ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
เปลือกต้น - แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด
ก้านใบ - แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย
กระพี้ - แก้ถุงน้ำดีอักเสบ
ยาง - ดับพิษร้อน
แก่น - แก้อาเจียน ขับเสมหะ
ราก - แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ ซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก
ใบ,ผล - ใช้เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ
ผล มีสารรสขม - ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบาย แก้โรคหัวใจเดินผิดปกติ
เปลือกราก - เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง
น้ำมันจากเมล็ด - ใช้รักษาโรคผิวหนัง และยาฆ่าแมลง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
เป็นยาขมเจริญอาหารช่อดอกไม่จำกัด ลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวาน หรือน้ำพริก หรือใช้เปลือกสด ประมาณ 1 ฝ่ามือ ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
ใช้เป็นยาฆ่าแมลงสะเดาให้สารสกัดชื่อ Azadirachin ใช้ฆ่าแมลงโดยสูตร สะเดาสด 4 กิโลกรัม ข่าแก่ 4 กิโลกรัม ตะไคร้หอม 4 กิโลกรัม นำแต่ละอย่างมาบดหรือตำให้ละเอียด หมักกับน้ำ 20 ลิตร 1 คืน น้ำน้ำยาที่กรองได้มา 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดฆ่าแมลงในสวนผลไม้ และสวนผักได้ดี โดยไม่มีพิษและอันตราย

พุดตาน
สรรพคุณ :
· ยารักษาคางทูม
· ยาถอนพิษ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลมีหนอง
· ยาแก้งูสวัด
วิธีและปริมาณที่ใช้
· ยารักษาคางทูม - ใช้ใบแห้ง 10-15 ใบ บดให้ละเอียด เติมไข่ขาวผสมให้เข้ากัน เพื่อให้ยาจับกันเป็นแผ่น นำไปพอกปิดบริเวณที่บวมเป็นคางทูม เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหายบวม- ใช้ดอก อย่างแห้ง หนัก 3-12 กรัม ใบสด 30-40 กรัม ต้มน้ำรับประทาน ใช้ภายนอก บดเป็นผงผสม หรือใช้สดตำพอก
· ยาดถอนพิษ รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แผลมีหนอง- ใช้ใบสด 3-4 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำมันพืช ใช้ทาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แผลมีหนอง
· ยาแก้งูสวัด- ใช้ใบสด 4-5 ใบ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำซาวข้าว ใช้ทาบริเวณที่เป็น ทาบ่อยๆ- รากใช้เป็นยาทาภายนอก ตำพอกหรือบดเป็นผงผสมพอก


พริกไทย

สรรพคุณ :
· ใบ - แก้ลมจุกเสียดแน่น ท้องอืดเฟ้อ
· ผล - ผลที่ยังไม่สุกนำมาเป็นเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร
· เมล็ด - ขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ อาหารไม่ย่อย
· ดอก - แก้ตาแดง ถนอมอาหารหลายชนิด เช่น มะม่วงดอง
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้เมล็ด 0.5-1 กรัม ประมาณ 15-20 เมล็ด บดเป็นผง ชงรับประทาน 1 ครั้ง


ปีกแมลงสาบ

สรรพคุณ :
ทั้งต้นรสชุ่ม เย็นจัด มีพิษ ใช้แก้อาเจียนเป็นโลหิต หนองใน ตกขาว บิด ฝีอักเสบ สตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทาน ก้านและใบมี Calcium oxalate, Gum
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้ทั้งต้นแห้งหนัก 15- 30 กรัม (สดใช้ 60- 90 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มหรือคั้นเอาน้ำดื่ม
· แก้ไอเป็นเลือด ใช้ต้นสด 60- 90 กรัม ต้มกับปอดหมูหนัก 120 กรัม ผสมน้ำต้มให้เหลือ 1 ชาม ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง
· แก้โรคหนองใน ใช้ต้นสด 60- 120 กรัม ใส่น้ำต้มให้เหลือ 1 ถ้วย ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง
· แก้สตรีมีตกขาวมาก ใช้ต้นสด 60- 120 กรัม น้ำตาลกรวด 30 กรัม ต่าฉ่าย (Mytilum crassitesta Lischke) 30 กรัม ผสมน้ำต้มให้เหลือครึ่งชาม ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง
· แก้บิดเรื้อรัง ใช้กาบหุ้มดอกสดหนัก 150 กรัม ข้าวสารคั่วจนเกรียม (เริ่มไหม้) 30 กรัม ต้มน้ำแบ่งดื่มเป็น 3 ครั้ง

บานไม่รู้โรย

สรรพคุณ :
ดอก - รสจืด ชุ่มสุขุมใช้บำรุงตับ แก้ตาเจ็บ แก้ไอระงับหอบหืด ขับปัสสาวะ แก้ปวดศีรษะ บิด ไอกรน แผลผื่นคัน ฝีประคำร้อย
· ราก - ขับปัสสาวะ แก้พิษต่างๆ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
· ดอกแห้ง - ใช้หนัก 3-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม
· ทั้งต้น - ใช้หนัก 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก - ใช้ตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้าง

น้ำนมราชสีห์
สรรพคุณ :
· ทั้งต้น รสฉุน เปรี้ยว เย็นจัด ใช้ดับร้อน แก้พิษ ขับน้ำนม แก้ชื้น ผดผื่นคัน ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน บิดจากแบคทีเรีย หนองใน สัสสาวะเป็นเลือด ฝีในปอด ฝีที่เต้านม ฝีพิษบวมแดง ขาเป็นกลาก เน่าเปื่อย
· าง ใช้กัดหูด ตาปลา
วิธีและปริมาณที่ใช้
· ใช้ทั้งต้นแห้ง 6-7 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มน้ำดื่ม
· ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้างหรือตำพอกแผล
ตำรับยา
· แก้บิดมูกเลือดใช้ทั้งต้นแห้ง 15-25 กรัม ผสมน้ำตาลทราย บิดถ่ายเป็นมูกให้ผสมน้ำตาลแดง ใช้น้ำต้มสุกตุ๋นเอาน้ำดื่ม
· แก้เบาขัด หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือดใช้ต้นสด 30-60 กรัม ผสมน้ำดื่มวันละ 2 ครั้ง
· แก้ฝีมีหนองลึกๆใช้ใบสด 1 กำมือ ผสมเกลือและน้ำตาบทรายแดงอย่างละเล็กน้อยตำพอก
· แก้ฝีในปอดใช้ต้นสด 1 กำมือ ตำคั้นเอาน้ำครึ่งแก้ว ผสมน้ำดื่ม
· แก้ฝีที่เต้านมใช้ต้นสด 60 กรัม รวมกับเต้าหู้ 120 กรัม ต้มรับประทานใช้ต้นสด 1 กำมือ ผสมเกลือเล็กน้อย ตำผสมน้ำร้อนเล็กน้อยพอกบริเวณที่เป็น
· แก้เด็กเป็นตานขโมย (ผอม พุงโร ก้นปอด)ใช้ต้นสด 30 กรัม กับตับหมู 120 กรัม ตุ๋นรับประทาน
· แก้เด็กศีรษะมีแผลเปื่อยเน่า มีน้ำเหลืองใช้ต้นสด 1 กำมือ ต้มเอาน้ำชะล้างแผล
· แก้ขาเป็นกลาก เน่าเปื่อยใช้ต้นสด 100 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 75% จำนวน 500 มิลลิลิตร 3-5 วัน เอาไว้ทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ
· แก้บาดแผลมีเลือดออกใช้ใบสดขยี้หรือตำพอกแผลห้ามเลือด
· ยางใช้กัดหูด ตาปลาใช้ยางขาวทาที่เป็นบ่อยๆ


เทียนบ้าน สรรพคุณ :
· ใบสด แก้ปวดข้อ ยารักษากลากเกลื้อน แก้ฝีและแผลพุพอง ยากันเล็บถอด
· ใบแห้ง แก้แผลอักเสบ ฝีหนอง แผลเน่าเปื่อย รักษาแผลเรื้อรัง
· ยอดสด แก้จมูกอักเสบ บวมแดง
· ต้นสด แก้แผลงูสวัด
· รากสด แก้บวมน้ำ ตำพอกแผลที่ถูกเสี้ยนหรือแก้วตำ
· เมล็ดแห้ง แก้ประจำเดือนไม่มา ขับประจำเดือน
ขนาดและวิธีใช้
-แก้ปวดข้อ ใช้ใบสดต้มกับน้ำผสมเหล้าดื่ม
- ยารักษากลากเกลื้อ ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด ตำทั้งน้ำและเนื้อบริเวณที่เป็น ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
- แก้ฝีและแผลพุพอง ใช้ใบสด 5-10 ใบ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด นำมาพอกที่เป็นแผล วันละ 3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
- แก้แผลอักเสบ ฝีหนอง แผลเน่าเปื่อย ใช้ใบแห้ง 10- 15 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม เช้า-เย็น
- รักษาแผลเรื้อรัง ใช้ใบแห้งบดเป็นผงผสมพิมเสนใส่แผล
- แก้จมูกอักเสบ บวมแดง ใช้ยอดสดตำกับน้ำตาลแดง พอกบริเวณที่เป็น เปลี่ยนเช้า-เย็น
- แก้แผลงูสวัด ใช้ต้นสดตำ คั้นเอาน้ำดื่ม เอากากพอกแผล
- แก้ประจำเดือนไม่มา ขับประจำเดือน ใช้เมล็ดแห้งของต้นเทียนบ้านชนิดดอกสีขาว 60 กรัม บดเป็นผงรวมกับตังกุย 10 กรัม ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาเม็ด รับประทานครั้งละ 3 กรัม วันละ 3 เวลา หลังอาหาร

ทับทิม
สรรพคุณ :
ใบ - อมกลั้วคอ ทำยาล้างตา
ดอก - ใช้ห้ามเลือด
เปลือกและผลแห้ง - เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน แก้บิด- แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด
เปลือกต้นและเปลือกราก - ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด , พยาธิตัวกลม
เมล็ด - แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด
วิธีและปริมาณที่ใช้
ถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิตัวกลม ได้ผลดีใช้เปลือกสดของราก , ต้น ที่เก็บใหม่ๆ 60 กรัม หรือประมาณ 1/2 กำมือ เติมกานพลูหรือกระวานลงไปเล็กน้อย เพื่อแต่งรส ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (30 ซี.ซี.) หลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง รับประทานยาถ่าย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะตาม ควรอดอาหารก่อนรับประทานยา ยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค)ใช้เปลือกผล ตากแดดให้แห้ง ประมาณ 1/4 ของผล ฝนกับน้ำฝนหรือน้ำปูนใสให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง หรือต้มกับน้ำปูนใส แล้วดื่มน้ำที่ต้มก็ได้ บิด (มีอาการปวดเบ่ง และมีมูก หรืออาจมีเลือดด้วย)ใช้เปลือกผลแห้งของทับทิม ครั้งละ 1 กำมือ (3-5 กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 2 ครั้ง อาจใช้กานพลูหรืออบเชยแต่งกลิ่นให้น่าดื่มก็ได้


ดาวเรือง
สรรพคุณ :
· ใบ - รสชุ่มเย็น มีกลิ่นฉุน ใช้แก้ฝีฝักบัว ฝีพุพอง เด็กเป็นตานขโมย ตุ่มมีหนอง บวมอักเสบโดยไม่รู้สาเหตุ
· ช่อดอก - รสขม ฉุนเล็กน้อย ใช้กล่อมตับ ขับร้อน ละลายเสมหะ แก้เวียนศีรษะ ตาเจ็บ ไอหวัด ไอกรน หลอดลมอักเสบ เต้านมอักเสบ คามทูม เรียกเนื้อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น และแก้ปวดฟัน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
· ช่อดอก ใช้ภายใน - ใช้ช่อดอก 3- 10 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก - ช่อดอกต้มเอาน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น
· ใบ ใช้ภายใน - ใช้ใบแห้ง 5- 10 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก - ใช้ใบตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น

ข่อย
สรรพคุณ :
· กิ่งสด - ทำให้ฟันทน ไม่ปวดฟัน ฟันแข็งแรง ไม่ผุ
· เปลือก - แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไข้ ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
· เปลือกต้น - แก้ริดสีดวงจมูก
· เมล็ด - ฆ่าเชื้อในช่องปาก และทางเดินอาหาร - เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้
· รากเปลือก - เป็นยาบำรุงหัวใจ
วิธีและปริมาณที่ใช้ใช้ :
· ทำให้ฟันทน ไม่ปวดฟัน ใช้กิ่งสด 5-6 นิ้วฟุต หั่นต้มใส่เกลือเคี่ยวให้งวด เหลือน้ำครึ่งเดียว อมเช้า-เย็น
· แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไข้ ใช้เปลือกต้มกับน้ำรับประทาน
· แก้ริดสีดวงจมูก ใช้เปลือกต้นมวนสูบ
· ฆ่าเชื้อโรคในช่องปาก และทางเดินอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ โดยใช้เมล็ด รับประทาน และต้มน้ำอมบ้วนปาก


การะเกด
สรรพคุณ :
· ดอก - ปรุงยาหอม ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ ดอกหอม รับประทาน มีรสขมเล็กน้อย- แก้โรคในอก เช่น เจ็บคอ แก้เสมหะ บำรุงธาตุ- อบกลิ่นเสื้อผ้าให้หอม
วิธีใช้ - นำดอกไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว หรือมันหมู ปรุงเป็นน้ำมันใส่ผม นำดอกเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ


กานพลู
สรรพคุณ :
· เปลือกต้น - แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ
· ใบ - แก้ปวดมวน
· ดอกตูม - รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่นดอกกานพลูแห้ง ที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด
· ผล - ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม
· น้ำมันหอมระเหยกานพลู - ใช้เป็นยาชาเฉพาะแห่ง แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรม เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม และปวดท้องใช้ดอกกานพลูโตเต็มที่ ที่ยังตูมอยู่ 4-6 ดอก หรือ 0.25 กรัมในผู้ใหญ่ - ใช้ทุบให้ช้ำ ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว
ในเด็ก - ใช้ 1 ดอก ทุบแล้วใส่ลงในขวดนมเด็กอ่อน - ใช้ 1 ดอก ทุบใส่ในกระติกน้ำที่ไว้ชงนม ช่วยไม่ให้เด็กท้องขึ้นท้องเฟ้อได้
· ยาแก้ปวดฟันใช้นำมันจากการกลั่นดอกตูมของดอกกานพลู 4-5 หยด ใช้สำลีพันปลายไม้ จุ่มน้ำมันจิ้มในรูฟันที่ปวด จะทำให้อาการปวดทุเลา และใช้แก้โรครำมะนาดก็ได้
· ระงับกลิ่นปากใช้ดอกตูม 2-3 ดอก อมไว้ในปาก จะช่วยทำให้
· ระงับกลิ่นปากลงได้บ้าง

กระดังงาไทย

สรรพคุณ :
· ดอกแก่จัด - ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลังทำให้ชุ่มชื่น ให้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำอบ ทำน้ำหอม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ
· ใบ, เนื้อไม้ - ต้มรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะพิการ
วิธีใช้ :
1. ใช้ดอกกลั่น ได้น้ำมันหอมระเหย
2. การแต่งกลิ่นอาหาร ทำได้โดยนำดอกที่แก่จัด ลมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมา แล้วนำไปเสียบไม้ ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกทิ้งตอนเช้า นำน้ำไปคั้นกะทิ หรือปรุงอาหารอื่นๆ

กระชาย
สรรพคุณ :
· เหง้าใต้ดิน - มีรสเผ็ดร้อนขม แก้ปวดท้อง มวนในท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร
· เหง้าและราก - แก้บิดมูกเลือด เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ใช้เป็นยาภายนอกรักษาขี้กลาก
· ใบ - บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆ
วิธีใช้และปริมาณที่ใช้ :
1. แก้ท้องร่วงท้องเดินใช้เหง้าสด 1-2 เหง้า ตำหรือฝนเหง้าที่ปิ้งไฟแล้วกับน้ำปูนใส หรือคั้นให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง
2. แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดมวนในท้องใช้เหง้าและราก ประมาณครึ่งกำมือ (สดหนัก 5-10 กรัม, แห้ง 3-5 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน
3. แก้บิดใช้เหง้าสด 2 เหง้า บดให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำดื่ม
4. เป็นยาบำรุงหัวใจใช้เหง้าและรากกระชายปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง ใช้ผงแห้ง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ½ ถ้วยชา รับประทานครั้งเดียว
5. ยารักษาริดสีดวงทวารใช้เหง้าสด 60 กรัม ประมาณ 6-8 เหง้า ผสมกับเนื้อมะขามเปียก 60 กรัม เกลือแกง 3 ช้อนแกง ตำแล้วต้มกับน้ำ 6 แก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว รับประทานครั้งละ ½ แก้ว ก่อนนอน รับประทานติดต่อกัน 1 เดือน ริดสีดวงทวารควรจะหาย

กระเจี๊ยบ

สรรพคุณ :
· กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
1. เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
2. ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
3. น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
4. ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี
5. น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
6. ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
7. เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
8. เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย
9. ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
10. ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
11. ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
12. เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด

วิธีและปริมาณที่ใช้ : โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
คุณค่าด้านอาหาร น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น