วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพ

อาหารต้านมะเร็ง 5 ประการเพื่อการป้องกัน
1. รับประทานผักตระกูลกะหล่ำให้มาก เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บรอคโคลี่ ฯลฯ เพื่อป้องกัน โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้ส่วนปลาย กระเพาะอาหาร และอวัยวะระบบทางเดินหายใจ
2. รับประทานอาหารที่มีกากมาก เช่น ผัก ผลไม้ ข้าว ข้าวโพด และเมล็ดธัญพืชอื่น ๆ เพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
3. รับประทานอาหารที่มีเบต้าแคโรทีน และไวตามินเอสูง เช่น ผัก ผลไม้สีเขียว-เหลือง เพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กล่องเสียง และปอดำ
4. รับประทานอาหารที่มีไวตามินซีสูงเช่น ผัก ผลไม้ต่างๆ เพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร
5. ควบคุมน้ำหนักตัว..โรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง เช่น มดลูก ถุงน้ำดี เต้านม และลำไส้ใหญ่

ผลกระทบของการอดนอน
งานวิจัยเชิงทดลอง โดยอาสาสมัครหนุ่มสาว ทดลองนอนหลับวันละ 4 ชม. เป็นเวลา 6 คืน เมื่อเจาะตัวอย่างเลือด พบว่า มีปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นและควบคุมยาก ซึ่งเกือบจะเป็นเหมือนโรคเบาหวาน นักวิจัยยังพบว่าการอดนอนเป็นสาเหตุของโรคอ้วน โดยเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเร่งการเติบโต ซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตทางกายภาพ และควบคุมสัดส่วนของไขมันต่อกล้ามเนื้อในร่างกาย การอดนอนทำให้ฮอร์โมนนี้หลั่งน้อยลง ร่ายกายรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อฮอร์โมนเลปติน ซึ่งเป็นสารที่สื่อต่อระบบประสาท ว่า ควรจะอิ่มได้เร็วหรือช้าเท่าใด ตามความต้องการอาหารของร่างกาย เมื่อระดับเลปตินลดลงจากการนอนน้อย ผู้คนจะรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น แม้จะได้กินอาหารจนได้พลังงานเพียงพอแล้วก็ตาม การนอนไม่พอยังส่งผลต่อเม็ดเลือดขาว และกลไกการตอบสนองภูมิคุ้มกันต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เจ็บป่วยง่ายเมื่อเจอเชื้อโรค การนอนไม่พออาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง มีความเกี่ยวข้องกันในเรื่องวงจรการหลั่งฮอร์โมนแปรปรวน เนื่องมาจากการอดนอนและ แสงรบกวนในเวลากลางคืน ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ฉะนั้น นอกจากเราควรจะนอนให้เพียงพอแล้ว เรายังไม่ควรเปิดไฟนอนอีกด้วย

อาหารอันตรายเมื่อท้องว่าง
คุณทราบไหมว่าเมื่อท้องของคุณว่างแล้วคุณรับประทานอาหารเข้าไป อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพของคุณได้ เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะรับประทานอาหาร ควรเลือกชนิดของอาหารเสียก่อน อาหารที่ไม่ควรรับประทาน ขณะท้องว่างมีชนิดใดบ้าง มีบางชนิดที่เราแทบไม่เชื่อเลยล่ะ กล้วย.. เพราะกล้วยอุดมไปด้วยธาตุแมกนีเซียม การรับประทานกล้วย ขณะท้องว่าง จะทำให้ปริมาณธาตุแมกนีเซียมในเลือดสูงขึ้น ทำให้สูญเสียสัดส่วนของแคลเซียมและแมกนีเซียมไป เป็นการยับยั้ง การทำงานของหลอดเลือดหัวใจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อย่างยิ่ง กระเทียม .. เพราะจะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหาร ได้รับการกระตุ้นเกิด โรคกระเพาะอาหารอักเสบอย่างรุนแรง ผัก.. การรับประทานผักอย่างเดียวขณะท้องว่าง จะทำให้กระเพาะอาหารเกิดอาการผิดปรกติ นอกจากนั้น ยังไม่ควรอาบน้ำ และออกกำลังกายด้วยเช่นกัน เพราะการอาบน้ำและการออกกำลังกาย ในขณะที่ท้องว่าง จะทำให้เกิดอาการช็อก เนื่องจากน้ำตาลในเลือดต่ำได้ง่าย นมและนมถั่วเหลือง .. แม้ว่านมถั่วเหลืองจะอุดมไปด้วยโปรตีน แต่จะเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อกระเพาะอาหาร มีสารอาหารประเภทแป้งอยู่ด้วย เหล้า .. หากดื่มเหล้าในขณะท้องว่าง จะไปกระตุ้นเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ และเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้ น้ำตาลหรืออาหารหวาน. .. ไม่ควรรับประทานอาหารหวาน หรือน??ำตาล เช่น น้ำอัดลม ช็อกโกแลต เพราะหากรับประทานขณะท้องว่าง จะทำให้โปรตีนรวมตัวกับน้ำตาลส่งผลต่อการดูดซึมโปรตีนทุกชนิด และลดสมรรถภาพการทำงานของระบบหมุนเวียนเลือดและไต ชา. .. ที่แก่เกินไป ชาทำให้กรดเกลือในน้ำย่อย ในกระเพาะอาหารเจือจาง ส่งผลให้การทำงาน ของระบบย่อยอาหารลดลง และเกิดอาการใจสั่น เวียนศีรษะ มือเท้าไม่มีแรง จิตใจไม่สงบ ลูกพลับ .. ไม่ควรรับประทานลูกพลับในขณะที่ท้องว่าง เพราะกระเพาะอาหารจะหลั่งกรดเกลือออกมามาก หากไปรวมตัวกับยาง และสารแขวนลอยในลูกพลับแล้วจะทำให้เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ และเป็นแผลในกระเพาะอาหาร


ถั่วงอกดิบมีโทษ
ในผักสดบางชนิดมีสารพิษที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ในถั่วงอก มีสารพิษพวกที่เรียกว่าไฟเตต ซึ่งเมื่อกินเข้าไปจะ ไปจับแร่ธาตุบางชนิดที่อยู่ในอาหาร ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุเหล่านั้นเข้าร่างกาย ร่างกายจะเป็นโรคขาดแร่ธาตุ สารพิษเหล่านี้สามารถทำลายได้โดยการต้ม จึงควรรับประทานถั่วงอกสุขดีกว่าถั่วงอกดิบ


ในผักมีอะไรผักเป็นอาหารที่มีคุณค่ามากชนิดหนึ่ง เพราะมีสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น เกลือแร่ วิตามิน อยู่เป็นจำนวนมาก สารบางอย่างจะมีเฉพาะในผักเท่านั้น สิ่งสำคัญที่พบมากในผักทุกชนิดคือ "ใยพืช" (Fiber) ซึ่งเป็นส่วนที่ย่อยไม่ได้และไม่ให้พลังงาน นอกจากมีมากในผักแล้วยังพบได้ในถั่วต่าง ๆ เช่นถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ข้าวซ้อมมือ ข้าวแดง เป็นต้น

ใยพืชมีประโยชน์อย่างไร


1. ให้พลังงานน้อย
2. ลดอัตราการดูดซึมของน้ำตาล ทำให้ระดับน้ำตาลภายหลังอาหารลดลง
3. ช่วยลดการดูดซึมไขมัน
4. กระตุ้นลำไส้ให้ทำงานดีขึ้น ทำให้ท้องไม่ผูก ป้องกันโรคริดสีดวงทวาร โรคมะเร็งลำไส้ เป็นต้น

มากินผักกันเถอะการรับประทานผักจำนวนมาก ๆ หลายชนิดเป็นประจำ นอกจากทำให้ร่างกายแข็งแรงและเจริญเติบโตแล้ว ยังสามารถป้องกันโรคบางชนิดได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เห็ดหอม
เป็นเห็ดมีขายกันในรูปเห็ดตากแห้ง เห็ดหอมมีรสหวาน มีกลิ่นหอม สารเคมีที่พบมีเส้นใย ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็กและวิตามินบี มีการทดลองพบว่าเห็ดหอมมีฤทธิ์ลดโคเลสเตอรอลในเลือด ถ้ารับประทานเห็ดหอมเป็นยาบำรุงกำลังช่วยย่อย ลดอาการเบื่ออาหาร
งา
มีกลิ่นหอม มีน้ำมันมาก มีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรด วิตามินบี 1, บี 2, วิตามินอี และเกลือแร่หลายชนิด สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้ท้องผูก ผมหงอกก่อนวัย ลดโคเลสเตอรอลในเลือด และเสริมภูมิต้านทานโรค ถ้ารับประทานเป็นประจำ ข้อระวังผู้มีท้องร่วงเรื้อรัง ไม่ควรรับประทาน
ถั่ว
ได้แก่ ถั่วลันเตา ถั่วแขก มีสารอาหารที่สำคัญคือ โปรตีน ไขมัน และเกลือแร่หลายชนิด มีคุณค่าอาหารครบถ้วน มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ลดอาการบวมน้ำได้
ขี้เหล็ก
ใช้ใบรับประทาน ใบขี้เหล็กมีวิตามินเอ วิตามินซี เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี 1 และไนอาซิน สรรพคุณทางยาของใบขี้เหล็กมีสารชนิดหนึ่งออกฤทธิ์ต่อประสาททำให้นอนหลับดี แก้ท้องผูกได้ดี และบำรุงร่างกาย
ตำลึง
เป็นไม้เถา ใช้ใบรับประทาน เป็นพืชมีคุณค่าสูงทั้งวิตามินเอ แคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก ยังมีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรด ฟอสฟอรัส เหล็ก เหมาะเป็นอาหารบำรุง นอกจากนี้ตำลึงยังมีคุณสมบัติแก้แพ้ได้ดี โดยนำใบมาพอกบริเวณโดนสัตว์กัดต่อย
มะระ
เป็นผักจำพวกแตง มีรสขม เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ แก้กระหาย มีการทดลองกินมะระลดน้ำตาลในเลือดได้ (ส่วนเม็ดมะระจีนแก่จัดตากแห้งแกะเปลือกนอกออก นำมาบดให้ละเอียด ละลายน้ำร้อนกินวันละครั้งก่อนนอน จะแก้อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และกระตุ้นความรู้สึกทางเพศได้)
ผักกาด
ผักกาดมี 3 ชนิด ผักกาดขาว ผักกาดเขียว และผักกาดหอม ต่างมีสารอาหารเกลือแร่วิตามินครบบริบูรณ์ และมีเส้นใยอยู่จำนวนมาก การรับประทานเป็นประจำจะป้องกันอาการท้องผูก ลดการเป็นมะเร็งลำไส้

ผักกาดหอม
สามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด และวิตามินซีที่มีอยู่ในผักจะสร้างเสริมภูมิต้านทานโรค
มะเขือยาว
มะเขือมีอยู่ 3 ชนิด เปลือกสีเขียว สีม่วง และสีขาว พบว่าเปลือกสีม่วงและสีขาวมีคุณภาพดีกว่าสีเขียว ในมะเขือมีวิตามินบี 1 จำนวนมาก ซึ่งช่วยเสริมการทำงานของสมอง ช่วยความจำ ลดอาการอ่อนเปลี้ยของสมอง ในมะเขือยาวนี้มีโปรตีน แคลเซียม และวิตามินมากกว่ามะเขือเทศ การรับประทานเป็นประจำจะช่วยให้เส้นเลือดไม่เปราะ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคลักปิดลักเปิด
ปวยเล้ง
เป็นผักที่มีสีเขียวเข้มมีเส้นใย เกลือแร่ วิตามินซีจำนวนมาก และยังพบว่ามีกรดออกซาลิกอยู่มากเช่นกัน ซึ่งกรดนี้ถ้ารวมตัวกับแคลเซียมจะทำให้เกิดนิ่วได้ ก่อนบริโภค ควรลวกผักปวยเล้งให้สุกก่อนแล้วเทน้ำทิ้งไป จึงนำผักมาปรุงอาหารได้ ทำเช่นนี้กำจัดกรดออกซาลิกออกไป ปวยเล้งถ้ารับประทานเป็นประจำ จะยับยั้งการดำเนินของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานอีกด้วย
แค
รับประทานดอกมีชนิดสีแดงและสีขาว มีสรรพคุณลดไข้ ส่วนใบแครับประทานเป็นยาระบายได้
หัวปลี
เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย ใบหัวปลีมีธาตุเหล็ก จึงบำรุงเลือด แก้โลหิตจาง และยังคงลดน้ำตาลในเลือด และแก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ การนำมาปรุงอาหารได้แก่ ยำหัวปลี หรือรับประทานสดก็ได้


เกร็ดเล็กน้อยในการปรุงอาหารผักให้ได้คุณค่า
1. การหั่นผักแล้วล้าง น้ำจะทำให้วิตามินซีในผักสูญเสียไป เพราะวิตามินซีสลายตัวได้ง่ายในน้ำ ดังนั้นจะต้องล้างผักก่อนแล้วจึงหั่น และเมื่อหั่นเสร็จแล้ว ควรปรุงทันที
2. หลังปรุงแล้วควรรับประทานทันที เพราะการทำทิ้งไว้นาน ๆ หลังปรุง จะทำให้สิ่งมีคุณค่าทางอาหารสูญเสียไปได้
3. วิธีการหุงต้มผักทุกชนิดล้วนมีผลต่อการสูญเสียวิตามินซี เนื่องจากวิตามินซีละลายน้ำได้ ดังนั้นการรับประทานผักต้ม จะต้องรับประทานน้ำแกงด้วย การต้มควรจะต้มในน้ำน้อย ๆ และใช้เวลาสั้น ๆ
4. การปรุงอาหารจำพวกผัก ถ้าเติมน้ำส้มสายชูลงไปเล็กน้อย จะช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร และรักษาวิตามินซีไว้ด้วย
5. เครื่องครัวที่ใช้ผัดหรือต้มผัก ควรเป็นพวกเหล็ก เพราะจะทำให้วิตามินสูญเสียน้อยกว่าพวกทองแดง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น