1.ขนมปังปี๊บ ไม่ควรบริโภค เพราะกระบวนการผลิตขนมปังบรรจุปี๊บบางแห่งไม่มีคุณภาพ
2.เชอร์รี่บนขนมเค้กตามตลาดสด เชอร์รี่สีแดง สีเขียว วางประดับเหนือครีมสีขาว บนขนมเค้ก ส่วนใหญ่จะย้อมสี ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเสื่อมในไต
3.ซูชิในตลาดนัด ของสดบวก กับความร้อนและเชื้อแบคทีเรียในอากาศ ผู้ที่ซื้อไปรับประทานก็จะมีอาการท้องร่วงท้องเสียตามมา
4.เอแคลร์-ลูกชุบ หรือขนมที่มีการปั้นๆ ถูๆ ต้องพึงระวังสุขอนามัย รวมถึงสีที่ใช้ ซึ่งหลายเจ้าไม่ได้ใช้สีผสมอาหาร ใครทานเข้าไปก็เตรียมใจรับสารตะกั่ว
5.ลูกอมสีประหลาด สีเหล่านี้อาจเต็มไปด้วยสารตะกั่วและโลหะหนัก เพื่อสุขภาพที่ดีของปากและฟัน ควรหนีห่างเป็นดีที่สุด
6.อาหารทะเลปลายฤดูร้อน อาจมีเชื้อไวรัส แบคทีเรียมากกว่าปากติ ฉะนั้นโอกาส ท้องเสียจึงมีสูง หากจะทานก็ควรล้างน้ำเกลือให้สะอาด เพื่อชะล้างฝุ่นดินโคลนออกเสีย
7.อาหารสำเร็จรูปไมโครเวฟ ที่มีวางขายหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ชนิดนี้ไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ เพราะเคมีในพลาสติกจะซึมสลายปะปนกับอาหาร สะสมในร่างกาย
8.โยเกิร์ตตามซูเปอร์มาร์เก็ต ผู้ผลิตบางรายอาจผสมแป้งลงไป เพื่อให้ได้ปริมาณและความข้น ขณะที่ผลไม้เชื่อมที่ใช้ก็ถูกสลายด้วยเกลือแร่และวิตามินซีไปนานแล้ว
9.น้ำปลาเปิดขวด ควรมีอายุการใช้ไม่เกิน 1 เดือน เพื่อป้องกันการวางไข่ของแมลงวัน และเชื้อโรคตามอากาศที่ปะปนอยู่ในขวด
10. ขวดซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ที่เปิดใช้แล้ว แม้จะเก็บไว้อย่างดีในตู้เย็น แต่หากเปิดใช้เหลือเกินกว่าวันที่ฉลากระบุ ก็ต้องจัดการทิ้งถังขยะ เพราะเชื้อราตามคอขวด ซอสเหล่านี้ เติบโตเร็ว
11.กระดาษหนังสือพิมพ์ ห่อผักสด เข่งปลา วางจำหน่ายอยู่ทั่วไป อันนี้กินไม่ได้แต่สัมผัสกับอาหาร เนื่องจากสารพิษจากหมึกจะปนเปื้อนในอาหารได้ ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะนำ ไปห่อผักแช่ตู้เย็น
12.อาหารกระป๋อง ถ้าใช้ไม่หมดควรเอาออกจากกระป๋องใส่ภาชนะอื่นแช่ตู้เย็น เพราะอากาศจะเร่งปฏิกิริยาให้อาหารปนเปื้อนสารจากกระป๋องได้ง่าย
13.ฟองน้ำล้างจาน นี่ก็ไม่ใช่ของกิน แต่ก็สำคัญเพราะหากนำฟองน้ำล้างจาน กลับมาใช้ซ้ำหลายๆ ครั้ง แบคทีเรียที่มีน้ำยาผสมน้ำทิ้งไว้จึงไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 1 ชั่วโมง หากต้องการกำจัดเบื้องต้น เคล็ดลับง่ายๆ โดยนำฟองน้ำล้างจานไปแช่ในน้ำส้มสายชู แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น
14.อาหารหมักดอง เพราะเชื้อไวรัสในอาหารหมักดองมีฤทธิ์มากพอที่จะทำลายกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะอาหารหมักดองที่ขายตามตลาด
15.เบียร์สด ซึ่งมีกรรมวิธีการผลิตแตกต่างจากเบียร์บรรจุขวด เพราะจะไม่ถูกกรองยีสต์ที่ตายแล้ว ก็อาจจะทำให้ได้รับซากยีสต์จากการดื่มด้วย ซึ่งต้องระมัดระวังหากใครมีปัญหาเรื่องภูมิต้านทานแบคทีเรีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น