เกาะพิทักษ์
เกาะพิทักษ์ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย มีเนื้อที่ 712 ไร่ มีประชากร 44 ครัวเรือน ประชาชนเริ่มอพยพมาอยู่อาศัยเมื่อ พ.ศ. 2434 โดยบุคคลแรกที่เข้าไปอาศัยยังเกาะพิทักษ์คือ นายเดช เดชาฤทธิ์
เมื่อมีการจัดตั้งหมู่บ้านตามลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2464 จึงได้มีการตั้งชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านเกาะพิทักษ์
บ้านเกาะพิทักษ์ ได้ชื่อว่าเป็นชุมชนที่อนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางทะเลได้ดีเด่น ปัจจุบันบ้านเกาะพิทักษ์ ยังเป็นศูนย์อนุรักษ์หอยมือเสือ และยังมีปะการังสวยงามรอบๆ เกาะ รวมถึงเกาะไกลเคียงอย่าง "เกาะคราม" ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเกาะฯ ประมาณ 1 กิโลเมตร
เกาะพิทักษ์มีจุดเด่นที่น่าสนใจคือ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อนุรักษ์ไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์ เช่น หาดทรายที่สวยงามยังคงความเป็นธรรมชาติ อนุรักษ์หอยมือเสือ ดำน้ำชมปะการัง ชมวิถีชีวิตชาวประมง (ไดร์หมึก, วางอวน, ตกปลา ฯลฯ) และชมปลาโลมาสีชมพู (กันยายน-ตุลาคม)
เมื่อมีการจัดตั้งหมู่บ้านตามลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2464 จึงได้มีการตั้งชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านเกาะพิทักษ์
บ้านเกาะพิทักษ์ ได้ชื่อว่าเป็นชุมชนที่อนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางทะเลได้ดีเด่น ปัจจุบันบ้านเกาะพิทักษ์ ยังเป็นศูนย์อนุรักษ์หอยมือเสือ และยังมีปะการังสวยงามรอบๆ เกาะ รวมถึงเกาะไกลเคียงอย่าง "เกาะคราม" ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเกาะฯ ประมาณ 1 กิโลเมตร
เกาะพิทักษ์มีจุดเด่นที่น่าสนใจคือ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อนุรักษ์ไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์ เช่น หาดทรายที่สวยงามยังคงความเป็นธรรมชาติ อนุรักษ์หอยมือเสือ ดำน้ำชมปะการัง ชมวิถีชีวิตชาวประมง (ไดร์หมึก, วางอวน, ตกปลา ฯลฯ) และชมปลาโลมาสีชมพู (กันยายน-ตุลาคม)
เกาะพิทักษ์ เป็นเกาะเล็กๆ ที่อยู่ห่างฝั่งเพียง 1 กิโลเมตร มีหมู่บ้านชาวประมงพื้นบ้านกระจายอยู่รอบเกาะ ที่ราบบนเกาะมีไม่มากนัก บ้านเรือนบางส่วนจึงปลูกอยู่เหนือน้ำ นอก จากทำประมงแล้ว ชาวบ้านปลูกมะพร้าวเป็นรายได้หลักอีกทางหนึ่ง อีกทั้งการทำประมงแบบพื้นบ้าน ด้วยเครื่องมือหาปลาแบบพื้นถิ่น และชาวบ้านร่วมมือกันรักษาสภาพแวดล้อมของชุมชนและแหล่งทำมาหากิน จึงทำให้ท้องทะเลบริเวณเกาะ พิทักษ์ยังคงความอุดมสมบูรณ์ การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์บนเกาะพิทักษ์จึงเป็นการเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน การเข้าใจการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างคนกับธรรมชาติ นอกจากนี้แล้ว นักท่องเที่ยวอาจได้ออกเรือประมงกับชาวบ้านเพื่อไปตกปลาหมึกในยามกลางคืน หรือไปดำน้ำดูหอยมือเสือที่หาดูได้ยากในแหล่งอื่น รวมทั้งอาจศึกษาวิธีการ ทำน้ำมันมะพร้าวจากชาวบ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น