นางอรุณ บ่างตระกูลนนท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และในฐานะผู้วิจัยเรื่องอันตรายจากเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ และปริมาณจุลินทรีย์ในแผ่นใยขัดและฟองน้ำทำความสะอาดภาชนะบรรจุอาหาร เปิดเผยว่า จากการเก็บตัวอย่างแผ่นใยขัดและฟองน้ำที่ใช้ล้างทำความสะอาดภาชนะบรรจุอาหาร และอุปกรณ์ประกอบอาหาร
เพื่อมาหาปริมาณจุลินทรีย์ และเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเป็นพิษ พบว่าแผ่นใยขัดและฟองน้ำที่เก็บจากร้านค้าจำหน่ายอาหารมีปริมาณการปนเปื้อนเชื้อ จุลินทรีย์ทั้งชนิดที่ไม่ทำให้ป่วย และชนิดที่รุนแรงที่ทำให้ป่วย ส่วนเชื้อแบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็นพิษในแผ่นใยและฟองน้ำจากร้านค้า โดยเชื้อโรคที่พบ ได้แก่ เชื้อซัมโมเนลล่า ซึ่งทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วง เชื้ออหิวาต์เทียม ที่มีอาการท้องร่วงไม่รุนแรงเท่ากับโรคอหิวาต์
"จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าแผ่นใยขัดและฟองน้ำที่พบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ นั้นสามารถตรวจพบได้ทั้งในจาน ชาม ช้อน พร้อมกันนี้จำนวนเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในแผ่นใยขัดและฟองน้ำมีอัตราสูงมาก ซึ่งพอเป็นข้อมูลได้ว่า โอกาส ที่เชื้อจุลินทรีย์ในแผ่นใยขัดและฟองน้ำอาจติดไปกับภาชนะที่ใช้แผ่นใย ขัดและฟองน้ำล้างทำความสะอาดได้ และโอกาสปนเปื้อนในอาหารได้" วิธีการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ในแผ่นใยขัดและฟองน้ำหลังผ่านการล้างทำความ สะอาดภาชนะอุปกรณ์ต่างๆ โดยพบวิธีที่ง่ายและสามารถทำได้ทุกครัวเรือน คือ การใช้กรดน้ำส้มหรือน้ำส้มสายชู 4 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำเปล่าครึ่งลิตร แล้วนำแผ่นใยขัดหรือฟองน้ำที่ผ่านการล้างภาชนะในแต่ละวันมาแช่ทิ้งไว้ค้าง คืน และเปลี่ยนน้ำส้มสายชูใหม่ทุกวัน ภาวะที่มีความเป็นกรดสูงนั้น จะช่วยให้สามารถลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวลงให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย แก่การบริโภค หรือไม่ก็ควรนำไปตากแดดจัด อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง ความร้อนจากแสงแดดก็จะช่วยลดปริมาณจุลินทรีย์เช่นเดียวกัน
"ที่สำคัญไม่เพียงเท่านี้ควรทำความสะอาดแผ่นใยขัดและฟองน้ำ โดยผึ่งและทำให้แห้งหลังการใช้งานทุกครั้ง ไม่ควรแช่น้ำยาล้างจานทิ้งไว้จนกว่าจะมีการล้างครั้งใหม่ เนื่องจากไม่สามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ ยังเป็นตัวหมักหมมเชื้อโรคด้วย ทั้งนี้ ควรเปลี่ยนแผ่นใยขัดและฟองน้ำบ่อยๆ ไม่ควรเก็บไว้ใช้นานจนเกินไป"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น