วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

7 สิ่งที่ไม่ควรทำหลังการทานอาหาร
1. อย่าสูบบุหรี่ !!
จากผลการทดลองของผู้เชี่ยวชาญพบว่าการสูบบุหรี่หลังอาหาร เทียบได้กับการสูบบุหรี่ยามปกติถึง 10 มวน(ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น ซึ่งสูบปกติก็มีโอกาสเป็นอยู่แล้ว)
2. อย่ากินผลไม้ทันทีหลังอาหาร !!
เพราะมันไปพองในท้องคุณให้กินผลไม้ 1 หรือ 2 ชม. ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้จะดีกว่า
3. อย่าดื่มน้ำชา !!
เพราะว่าใบชามีความเป็นกรดสูงทำให้โปรตีนในอาหารที่เรากินกระด้างขึ้นทำให้ย่อยยาก
4. อย่าขยายเข็มขัดหลังกินอิ่ม !!
เพราะเป็นเหตุให้ลำไส้ไม่ปกติ
5. อย่าอาบน้ำหลังกินข้าว !!
เพราะการอาบน้ำ จะทำให้โลหิตไหลเวียนไปที่มือ และเท้าทั่วร่างกายเป็นเหตุ
ให้ปริมาณโลหิตไหลเวียนบริเวณท้องก็เพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่
6. อย่าเดินหลังอาหาร !!
แม้คุณจะเคยได้ยินว่ากินข้าวแล้วให้เดินสัก 100 ก้าวจะทำให้อายุยืนถึง 99 ปี !?!การเดินทันทีทำให้การย่อยเพื่อดูดซึมสารอาหารทำได้ไม่ดีควรรออย่างน้อยสักชั่วโมงค่อยเดินถ้าต้องการ
7. อย่านอนทันที !!
อาหารที่รับประทานเข้าไปไม่สามารถย่อยได้เต็มที่อาจทำให้เกิดลมหรือแก๊สในทางเดินอาหาร...มาถึงบรรทัดนี้ก็อย่าเก็บเมล์นี้ไว้คนเดียว ส่งต่อให้เพื่อนๆเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังกินอิ่มกันเด้อ !!...หากคุณเป็นคนที่ใส่ใจในสุขภาพ และรูปร่างความงาม ความหล่อ คลิ้กที่นี่เลยขอต้อนรับสู่คลับของเรา
ด้านมืดของนมวัว
หลายคนเชื่อว่า "ดื่มนมเยอะๆ...ดี" ลองมาอ่านกันดูค่ะ ว่า "ดี"อย่างที่คิดกันรึเปล่าปัจจุบันหลายประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ มีการรณรงค์ให้เลิกดื่มนมวัวกันอย่างจริงจัง จากการวิจัยพบว่านมวัว ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน กระดูกผุ สมาธิสั้น เด็กปวดท้อง เด็กหูอักเสบ ฉี่รดที่นอน เลือดกำเดาไหล ปวดหัว ไซนัสอีกเสบ ฯลฯ นมทำให้ร่างกายสูงใหญ่ก็จริงแต่ไม่ได้เป็นเพราะแคลเซียม สิ่งที่ทำให้ร่างกายสูงใหญ่คือ Growth Hormone ของสัตว์ หรือฮอร์โมนที่เกิดจากการเจริญเติบโตของวัว การให้เด็กดื่มนมวัวก็คือการให้สารอาหารที่มีไว้กระตุ้นสัตว์ที่มีการเจริญเติบโตมากมายแก่เด็ก ผลคือ เด็กมีโครงสร้างที่ผิดปกติไปจากที่ควรจะเป็นและโดยปกติแล้ว ลูกวัวกินนมแค่1ปีแต่ลูกคนกลับรับประทานนมวัวต่อเนื่องกันเป็นสิบปี ฉะนั้น Growth Hormone จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเด็กอย่างต่อเนื่อง ทำให้ร่างกายสูงใหญ่ผิดไปจากเผ่าพันธุ์เดิมของตนและในที่สุดโรคต่างๆที่กล่างข้างต้นจะเกิดขึ้น แต่อันตรายจะเห็นได้ช้า ฉะนั้นคนส่วนใหญ่จะไม่ตระหนักและคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี อันตรายจากนมที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ "ออทิสติก" หรือ "โรคสมาธิสั้น" เด็กจะไม่อยู่เฉยเพราะถูกกระตุ้นให้ตื่นตัวอยู่เสมอจากสารกระตุ้นที่มีอยู่ในนมวัว เพราะลูกวัวนั้นโดยธรรมชาติแล้วเมื่อคลอดออกมา มันจะต้องวิ่งได้เพื่อที่จะวิ่งหนีศัตรูเช่น หมาป่า เสือ สิงโต ฉะนั้นในนมวัวจึงมีสารที่ทำให้ลูกวัวตื่นตัวตลอดเวลา เด็กที่ดื่มนมวัวจึงมีอาการตื่นตัว อยู่เฉยไม่ได้เหมือนอยู่ในป่า การถูกกระตุ้นเกินกว่าเหตุเป็นอันตรายต่อสมองและพัฒนาการของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ประโยชน์ที่คนส่วนใหญ่คาดว่าจะได้รับจากนมวัวคือ "โปรตีน" และ "แคลเซียม" ทว่าความจริงที่ควรทราบก็คือ โปรตีนจากสัตว์เป็นอันตรายต่อร่างกายมากและแคลเซียมในนมก็ไม่ได้มีมากมายอย่างที่หลายคนเชื่อ นมวัว 3 แก้วให้แคลเซียมเท่ากับหัวปลา 1 หัวเท่านั้น นมวัวมีไว้ให้วัวกิน นมคนก็มีไว้ให้คนกิน คนเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่กินนมข้ามสายพันธุ์และการกินอย่างต่อเนื่องจึงเกิดโรคต่างๆมากมาย ปัจจุบันพบว่าสาเหตุของโรคภูมิแพทั้งในเด็กและผู้ใหญ่คือนมวัว สาเหตุของโรคกระดูกผุ เวียนศีรษะในผู้สูงอายุคือนมวัว แพทย์พบว่าคนไข้ที่มีอาการดังกล่าวถ้ามีประวัติดื่มนมอย่างต่อเนื่องหลังจากให้หยุดดื่มนมแล้วอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สำหรับผู้หญิงนมถั่วเหลืองนอกจากจะได้โปรตีนจากพืชซึ่งเป็นโปรตีนที่ถูกต้องแล้ว ในนมถั่วเหลืองก็ยังมีแคลเซียมและที่สำคัญมีฮอร์โมน "เอสโตรเจน" ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงซึ่งจะทำให้ผู้หญิงมีผิวพรรณดี โดยเฉพาะผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนซึ่งมีปริมาณเอสโตรเจนที่กำลังลดลงนั้น การดื่มนมถั่วเหลืองจะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจนทำให้มีโอกาศที่จะเกิดอาการผิดปกติต่างๆในวัยใกล้หมดประจำเดือนน้อยลง ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการดื่มนมถั่วเหลืองคือวันละหนึ่งแก้ว และหากจะให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรดื่มในเวลาที่ท้องว่างคือ ก่อนหรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง ควรควรดื่มในเวลาที่ท้องว่างเพราะในนมถั่วเหลืองจะมีไฟเบอร์ชนิดหนึ่งที่แข็งแรงมาก ฉะนั้นถ้ากินพร้อมมื้ออาหารจะทำให้การย่อยและการดูดซึมสารอาหารในมื้อนั้นลดลง อย่างไรก็ตามนมถั่วเหลืองไม่เหมาะที่จะให้ผู้ชายดื่มทุกๆวัน เนื่องจากการเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงให้กับผู้ชายในปริมาณมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ผลิตสเปิร์มน้อยละและมีลูกยาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น